NPSH

สมการ NPSH (Net Positive Suction Head) ทำไมต้องมี 2 สมการ

  1. การที่น้ำจะไหลเข้าไปในปั๊มได้นั้น ความดันรวมที่หน้าปั๊มจะต้องสูงกว่าความดันในห้องสูบ และเมื่อน้ำเข้าไปแล้ว น้ำก็จะต้องมีความดันสูงกว่าความดันไอของน้ำนั้น จึงจะไม่ทำให้เกิด Cavitation ซึ่งความแตกต่างของความดันหน้าปั๊มกับความดันไอของน้ำนี้เรียกว่า NPSH
  2. โดยปกติเราจะอ่านความดันไอน้ำเป็นความดันสัมบูรณ์ ดังนั้นความดันหน้าปั๊มที่จะเอามาลบกัน ก็จะต้องเป็นความดันสัมบูรณ์ด้วย ดังนั้นนิยามของ NPSH จึงเขียนเป็นสมการได้ดังนี้คือ NPSH = ความดันรวมสัมบูรณ์ – ความดันไอของของเหลวนั้น
  3. ปั๊มแต่ละตัวจะต้องการความดันที่หน้าปั๊มไม่เท่ากัน ดังนั้นค่า NPSH ของปั๊มแต่ละตัวจึงไม่เท่ากันด้วย ขึ้นกับแต่ละผู้ผลิต ดังนั้นเราจึงเรียกค่า NPSH ที่ผู้ผลิตต้องการนี้ว่า NPSHr (Required-NPSH) หรือ NPSH ที่ต้องการ
  4. ในการนำปั๊มไปติดตั้งใช้งาน เราก็ต้องติดตั้งให้มี NPSH มากกว่าที่ปั๊มต้องการ ซึ่ง NPSH ที่เกิดขึ้นจริงหลังติดตั้งนี้เรียกว่า NPSHa (Available-NPSH) หรือ NPSH ที่มีอยู่
  5. โดยทั่วไปในระบบประปาจะต้องการให้ NPSHa มากกว่า NPSHr ประมาณ 10% หรือประมาณ 0.6 m (อ้างอิงจาก ANSI/HI9.6.1-2012)
  6. ในการเลือกซื้อปั๊มนั้น เราจะต้องคำนวณค่า NPSHa จากแบบของเราก่อนแล้วจึงไปเลือกซื้อปั๊มที่มี NPSHr ต่ำกว่า โดยการคำนวณ เราจะใช้สมการดังนี้ NPSHa = Hatm – Hvapor – z – Hloss
  7. ในกรณีที่เราติดตั้งปั๊มไปแล้ว ถ้าเราอยากตรวจสอบว่า NPSHa ที่เกิดขึ้นจริงเท่าไร เราก็ต้องอ่านค่าความดันจาก Pressure gage ที่ทางดูดของปั๊ม แล้วนำมาคำนวณตามสมการดังต่อไปนี้ NPSHa = Hgage + Hatm + V^2/2g – Hvapor

จะเห็นว่าทั้งสองสมการนั้นเขียนไม่เหมือนกัน หลายคนอาจจะสงสัยว่าทั้งสองสมการมีที่มาอย่างไร วันนี้ทีมงาน Admin ก็เลยสรุปมาให้ดูกันครับ

เครดิต: อาจานทองหยิบ ม.พะเยา

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ กด "MORE INFO" เพื่ออ่านเพิ่มเติม หรือกด "ACCEPT" เพื่อยอมรับข้อตกลงในการเก็บข้อมูล