ตามที่สมาชิก ปริกิจ ดำรงสัตยา ได้โพสต์แนะนำวิธีการหาขนาด Cooing Tower (ตามรูป) นั้น ต้องขอขอบคุณมากเลยครับ แต่อาจจะมีบางข้อมูลที่ตกหล่น ทำให้สมาชิกสับสนได้ ผมเลยขอขยายความเพิ่มให้ครับ
1 Ton-Cooling tower มีค่าเท่าไร
ค่า Ton-Cooling tower กับ TR นั้น จริงๆแล้วจะถือว่าเป็นคนละหน่วยกันก็ไม่ผิด หลายท่านคงจำได้ว่าทำไม Flow น้ำเย็นจึงไม่เท่ากับ flow น้ำ Condenser ซึ่ง Flow น้ำเย็น เท่ากับ 2.4 gpm/tr และ flow น้ำ Condenser เท่ากับ 3 gpm/tr ซึ่ง Flow น้ำ Condenser ที่เท่ากับ 3 gpm/tr นั้นมาจากการกำหนดให้ COP ของ Chiller เท่ากับ 4 หรือ Heat reject ที่ Condenser เท่ากับ 1.25 เท่าของ Evaporator ดังนั้น
Condenser flow = 1.25×2.4 gpm/tr = 3 gpm/tr นั่นเอง
และในทำนองเดียวกัน เมื่อมาคำนวณเป็นค่า Heat reject จึงได้ว่า
1 Ton Cooling tower = 1.25×12,000 = 15,000 Btu/hr
(15,000 Btu/hr มีค่าประมาณ 4.4 kW หรือ 3,782 kcal/h ซึ่งบางตำรากำหนดให้ 1 Ton Cooling tower เท่ากับ 3,900 kcal/h)
ลองมาดูสมการของคุณปริกิจ กันนะครับ (ให้ตัดค่าเผื่อ 20% ออกไปก่อน)
1) (L/Min) x ค่าความห่างอุณภูมิที่ต้องการ(โดยไม่เกิน5องศาC) x 60 ÷ 3,900 x 1.2—-(ตัวเลขเผื่อขนาด20%) = จำนวนตันคูลลิ่งที่ต้องใช้
ที่มาของสมการนี้ก็มาจาก Q = mCpΔT ซึ่งตัวเลข 60 นั้นเป็นการแปลงหน่วยให้เป็น per hour ส่วน 3,900 นั้นก็คือการแปลงหน่วยจาก 3,900 kcal/h ให้เป็น 1 ton cooling tower
2) ให้เอาขนาดของ Chiller x 1.2—-(หรือก็คือ20%เป็นอย่างต่ำ)ได้เลย = จำนวนตันคูลลิ่งที่ต้องใช้
คุณปริกิจกำหนดให้ 1 TR = 1 Ton-CT ซึ่งตัวเลข 1 Ton เหมือนกัน แต่ Heat reject จะไม่เท่ากันครับ เพราะ 1 TR = 12,000 btu/h ส่วน 1 Ton-CT = 15,000 btu/h นั่นเอง
3) หาจากค่า kW ของเครื่องจักร (ในอุณหภูมิน้ำไม่เกิน5องศาC) เช่น เครื่องจักร 1,000 kW = 1,000 x 3,412 ÷ 15,000×1.2=จำนวนตันคูลลิ่งที่ต้องใช้
ข้อนี้ก็ตรงไปตรงมาคือแปลง kW เป็น Btu/h แล้วหารด้วย 15,000 Btu/h ครับ
ส่วนตัวเลขเผื่อ 20% นั้น ก็ขึ้นกับผู้ผลิตครับ ซึ่งผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็มักจะเผื่อไว้ประมาณนี้ ถือว่าเป็น Safety factor หรือ service factor อะไรก็แล้วแต่เลยครับ
เครดิต: อาจานทองหยิบ ม.พะเยา